นาฬิกา - เวลา

ปฏิทินกิจกรรม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

สาระน่ารู้

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

8.การตั้งค่าเพื่อปรับแต่งให้ระบบ CMS Joomla


หลังจากที่ติดตั้งส่วนเสริมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Module หรือ Plug-in เข้าไปในระบบแล้วต่อไปจะเป็นการ Set ค่าของModule และ Plug-in ที่ได้ติดตั้งเข้าไป โดยจะขอพูดถึงหลัก ๆ ดังนี้ก่อนคือ
1.ตัวระบบภาษาไทย
2.ตัวปรับ Legacy และ XML
3.ตัวนับสถิติคนดูของ Module Visitor
 ขั้นตอนการ ปรับภาษาของระบบ
จากนั้นเริ่มด้วยการ Log-in มายังส่วนของผู้จัดการระบบ แล้วไปที่ Extensions > Language Manager เพื่อทำการปรับแต่งค่าภาษาให้กับตัวระบบก่อน
 จากนั้นเมื่อมาแล้วให้สังเกตที่ วงกลม ที่คำว่า Thai(ภาษาไทย) ให้เลือกแล้วไปกดที่รูปดาว(Default) ตรงมุมบนขวามือ เพื่อเปลี่ยนการเลือกค่าภาษาของระบบ ด้านหน้าเว็บ
เมื่อเลือกเสร็จแล้วสังเกตว่าตอนนี้รูปดาวจะย้ายฝั่งจากอยู่ข้างบนมาอยู่ข้างล่างแทนแล้ว แต่ว่าภาษานั้นยังไม่เปลี่ยน
          จากนั้นให้เลือกที่คำว่า “Administrator” เพื่อเปลี่ยนการตั้งค่าภาษาของระบบอีกครั้งแต่ครั้งนี้จะเป็นการเลือกในส่วนของผู้ดูแลระบบ
          จะสังเกตว่าตอนนี้รูปดาวนั้นอยู่ที่ English(United Kingdom) ให้เราทำการเลือกที่ Thai(ภาษาไทย) แล้วทำการกดที่รูปดาว(Default) อีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนการเลือกของระบบ
 จะสังเกตว่าเมื่อขั้นตอนนี้เสร็จสิ้น ภาษาของผู้จัดการระบบจะเปลี่ยนเป็นภาษาไทยทั้งหมดแล้ว
ขั้นตอนการปรับ Legacy และ XML
          ให้ไปที่ ส่วนขยาย > การจัดการปลั๊กอิน
           เมื่อมายังหน้า การจัดการ ปลั๊กอินแล้ว ให้หาคำว่า System – Legacy, XML-RPC – Joomla และ XML-RPC – Blogger API เมื่อพบแล้วให้ทำการเปิดการใช้งานค่าเหล่านี้ทั้งหมด
           จากนั้นให้ทำการ คลิกที่เครื่องหมาย กากบาทสีแดง” ที่วงกลมในตัวอย่าง แล้วจะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายถูกสีเขียว ให้ทำการแก้ไขให้ครบ ตามจำนวนที่บอก (ลำดับของ Plug-in เหล่านี้จะแสดงผลไม่เหมือนกันแล้วแต่ว่าผู้ใช้แต่ละคนติดตั้งอะไรลงไปบ้าง)
           แค่นี้ก็ปรับ Legacy และ XML ได้เรียบร้อยแล้ว
  ขั้นตอนการ ปรับตัวนับสถิติคนดู หรือ Visitor
           ก่อนอื่นให้เราไปที่ ส่วนขยาย > การจัดการโมดูล เพื่อจะทำการปรับแต่งค่าของ Module Vinaora Visitors Counter ซึ่งเป็นโมดูลที่เราใช้กันก่อน
           เมื่อมาที่หน้า การจัดการโมดูล แล้วให้เราคลิกเลือกที่ Vinaora Visitors Counter ตามภาพตัวอย่าง เพื่อทำการแก้ไขค่าของโมดูล
           สังเกตที่ช่อง ชื่อเรือง” ให้เราแก้ไขข้อความเป็นภาษาไทย ในตัวอย่างตั้งเป็น “ผู้เยี่ยมชม” ส่วนทางฝั่ง พารามิเตอร์ ที่ช่อง“Display Mode” ให้แก้ไขจาก “custom” เป็น “standard”
           จากนั้นเลื่อนลงมาข้างล่างจนพบกับข้อความในภาพ ซึ่งถ้าหากยังไม่แก้ไขจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ให้ทำการแก้ไข เป็นภาษาไทย โดยการ คลิกเลือกแล้วลบข้อความเดิมแล้วพิมพ์ข้อความใหม่แทนลงไป
          เมื่อแก้ไขค่าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เสร็จแล้วให้กดปุ่ม “บันทึก” ที่มุมบนด้านขวามือ จะเป็นอันเสร็จสิ้นการแก้ไขค่าของ Module Visitor เบื้องต้นแล้ว

7.เริ่มติดตั้ง Module และ Plug-in เข้าไปใน ระบบ CMS


          ก่อนอื่นเมื่อเราได้ทำการติดตั้ง CMS Joomla เข้าไปแล้วนั้น สิ่งที่จะต้องติดตั้งตามมาก็คือระบบการแสดงผลของภาษาให้เป็นภาษาไทยนั้นเอง ตอนนี้ผมจะขอเรียงลำดับสิ่งที่เราจะติดตั้งต่อไปก่อนดังนี้
  1. 1.File แสดงผลภาษาไทย
  2. 2.ตัวควบคุมการเขียนบทความในเว็บไซต์ทั้งหมด (JCE Editor)
  3. 3.Template ที่เราออกแบบเองด้วยโปรแกรม Artisteer
  4. 4.Module แสดงจำนวนผู้เข้าชม
  5. 5.Module การ Comment บทความ
  6. 6.Plug-in ขยายรูปภาพ
  7. 7.Plug-in Shared บทความลง Facebook
  8. 8.Plug-in Like บนความของ Facebook
  9. 9.Module Slideshow รูปของบทความ
  10. 10.Module แสดง List ของบทความที่ได้สร้างไว้(แบบแบ่งเป็นหมวดหมู่)

วิธีติดตั้ง
          ก่อนอื่นให้ Log-in เข้าสู่ระบบในหน้า Administrator ก่อนนะครับแล้วไปที่ เมนู Extension > Install/Uninstall เมื่อ มาแล้วจะปรากฏหน้าตาแบบนี้
1

          จากนั้นให้กดที่ปุ่ม Browse… เพื่อ หาไฟล์มาอัพโหลดเข้าสู่ระบบ ขั้นตอนนี้เป็นการติดตั้ง โดยสามารถไป ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่http://www.krusurin.org/joomladownload/ โดยไฟล์ที่จะใช้ติดตั้งในขั้นตอนนี้คือไฟล์ของภาษา คือ th-TH_joomla_lang_full.1.5.15v1.zip เมื่อเลือกไฟล์ได้แล้วจะปรากฏดังภาพตัวอย่าง

          แล้วทำการกดปุ่ม Upload File & Install เพื่อทำการติดตั้งเข้าไป ในขั้นตอนนี้ จะใช้ในกรณีที่เราต้องการติด Template, Module และ Plug-in เข้าไปในระบบ และจะใช้อีกครั้งเมื่อต้องการถอดสิ่งเหล่านี้ออกจากโปรแกรม

          จากนั้นให้ไปโหลดโปรแกรมมาและทำการติดตั้งลงระบบให้หมด

6.การ Log-in ใน CMS Joomla เพื่อจัดการเนื้อหา


        วิธีการ Log-in ในระบบ CMS ประเภท Joomla นั้นไม่ได้ยากเย็นอย่างที่คิดซึ่งจริง ๆ แล้วจะมีการ Log-in อยู่ 2 ลักษณะคือ Log-in จากหน้าเว็บ และ Log-in จากทางด้านหลัง(administrator) ซึ่งถ้าเราเพิ่งจะเริ่มติดตั้ง CMS Joomla เสร็จแน่นอนว่าเราไม่สามารถ Log-in ได้จากทางหน้าเว็บแน่นอน เราจะต้องเริ่ม Log-in ที่หน้า administrator ก่อนโดยมีขั้นตอนดังนี้

          1.เริ่มแรกให้ไปที่เว็บไซต์ของเรา ตัวอย่าง คือ http://localhost/tjoomla/ ก็จะได้หน้าตาของเว็บไซต์มา
1


          2.จากนั้น ที่ต่อท้าย http://localhost/tjoomla/ ให้เราเติมคำว่า administrator เพิ่มเข้าไป แล้วทำการเรียกเว็บไซต์ได้ทันที

3.เมื่อเรียก url นี้มาแล้วจะปรากฏหน้า Log-in เพื่อเข้าสู่ระบบ ให้เราทำการใส่ Username และ Password ลงไป โดย Username นั้นค่ามาตรฐานหลังจากติดตั้งคือ admin ส่วนรหัสผ่าน คือ รหัสที่เราเป็นผู้กำหนดขึ้น โดยจะอยู่ในขั้นตอนการติดตั้ง CMS Joomla ในบทที่ 3 นั่นเอง

          4.เมื่อกรอกค่าถูกอย่างถูกต้องแล้วให้กดปุ่ม Login เพื่อเข้าสู่ระบบ ถ้ากรอกรหัสถูกต้องจะเข้าสู่หน้าหลักของผู้ดูแลระบบ CMS Joomla

5.สร้าง Templates กับ Artisteer


        เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาให้คลิกเลือกที่ Joomla ก่อน เพื่อสร้าง Template ของ Joomla หากผู้ใช้งานสังเกตจะเห็นว่าโปรแกรมนี้ไม่เพียงแต่สร้าง template ให้กับ joomla ได้อย่างเดียว แต่ยังสามารถสร้าง template ให้กับ cms ชนิดอื่น ๆ เช่น wordpressและ blogger ได้อีกด้วย


            เมื่อเลือกมาแล้ว สิ่งที่จะได้เห็นอย่างชัดเจนคือตัว template ที่ให้เห็นเป็นโครงสร้างอย่างคร่าว ๆ ว่าถ้า template ตัวนี้ถูกนำไปใช้งานจะมีลักษณะประมาณนี้

          ในขั้นตอนการสร้าง template นี้จะขออธิบายโดยคร่าว ๆ เพราะว่าสามารถทดลองเล่นได้เองโดยไม่ต้องแสดงขั้นตอนอย่างละเอียด ซึ่งเมนูแต่ละอันก็จะประกอบไปด้วยลักษณะการแสดงผลของ template ในแบบต่าง ๆ ที่ได้ตั้งเอาไว้ เริ่มที่ 

Menu Ideas


          ในส่วนนี้เมื่อกดที่ปุ่ม ไหน ๆ ก็แล้วแต่จะเป็นการ random ลักษณะการแสดงผลของ template ตามที่เรากดไม่ว่าจะเป็นโทนสีของ template , ลักษณะ Fonts , ตำแหน่ง Layout ต่าง ๆ เป็นต้น
Menu Colors & Fonts

          ในเมนูส่วนนี้จะเป็นการควบคุมลักษณะโทนสีของ template และตัวหนังสือ ให้มีการแสดงผลให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ
Menu Layout

          ในเมนูส่วนนี้เป็นการควบคุมตำแหน่งต่าง ๆ ที่ใน template ตัวที่เราออกแบบมานั้นจะมี เช่นอยากให้มีเมนูส่วนหัว(Top Menu) หรือไม่ อยากให้มี ภาพประจำ template หรือไม่ เป็นต้น
Menu Content

ในเมนูส่วนนี้เป็นการควบคุมลักษณะการแสดงผลของบทความ ไม่ว่าจะเป็น Icon ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งสีของลิงค์ สีของตาราง รูปแบบของข้อความจะอยู่ในส่วนนี้ทั้งหมด
Menu Background

          ในเมนูนี้เป็นการควบคุมลักษณะของพื้นหลัง Template ว่าให้ออกมาเป็นเช่นไรตามการออกแบบของผู้ใช้
Menu Sheet

ในเมนูนี้เป็นการควบคุมรูปแบบความกว้าง ยาว ความโค้ง ความมน ทั้งยังควบคุมแสงและเงา และระยะห่างของส่วน layoutต่อ layout ของ template อีกด้วย
Menu Header

ในเมนูนี้เป็นการควบคุมตำแหน่งของ Header ของ template ทั้งยังสามารถใส่ effect Flash ของโปรแกรมเพิ่มเติมลงไปได้อีกด้วย
Menu Menu

ในเมนูนี้เป็นการควบคุมรูปแบบของตัวปุ่มของ เมนู ที่ใช้ในการคลิกไปยังลิงค์ต่าง ๆ ของ template
Menu Blocks
          ในเมนูนี้เป็นการควบคุมกล่องของเมนูในแต่ละกลุ่มว่าให้ออกมามีรูปล่างลักษณะอย่างไร สวยเหมือนกันหรือไม่
Menu Vertical Menu

ในเมนูนี้เป็นการควบคุมกล่องของเมนูในอีกลักษณะหนึ่ง เสมือนว่าเราสามารถสร้าง block ของ menu มาได้ 2 แบบเพื่อให้เว็บที่สร้างมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
Menu Buttons

ในเมนูนี้เป็นการควบคุมตัวปุ่มที่ใช้ในตัว template ทั้งหมด
Menu Footer

ในเมนูนี้เป็นการควบคุมส่วนล่างสุดของเว็บไซต์เปรียบเสมือนพื้นที่ส่วนนั้นใช้ในการออกแบบ ลิขสิทธิ์ ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเว็บไซต์เราอีกด้วย

จากนั้นเราสามารถทดลองทำการสร้าง Template ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ต้นยันจบแล้วทำการกดที่ปุ่ม Joomla Template
แล้วแก้ไขชื่อ template ที่ช่อง File Name แล้วทำการเลือกที่เก็บ template ที่ช่อง path แล้วทำการกด Export เพื่อเอาเทมเพลตออกไปใช้งาน
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

4.ติดตั้งโปรแกรม Artisteer


 โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างและออกแบบ เทมเพลต ของ Joomla ให้ง่ายขึ้นแทนที่จะไปหาซื้อเทมเพลต หรือดาวน์โหลดมา ซึ่งอาจจะไม่สวยสมใจนัก รับรองโปรแกรมนี้ช่วยได้ ซึ่งสะดวกกว่าการเขียนเองอยู่บ้างแต่ถ้าเขียนเทมเพลตขึ้นโดยผู้ชำนาญ ก็สามารถทำให้สวยยิ่งกว่าได้อีกเท่าตัว ซึ่งสามารถดาวน์โหลดตัว Demo มาทดลองใช้งานได้ที่ ลิงคนี้เลยครับ Artisteer
     โดยให้ Double Click ที่โปรแกรมที่ชื่อว่า Artisteer.3.1.0.48375.exe ตามภาพเพื่อเป็นการติดตั้งโปรแกรมขึ้นก่อน (หมายเหตุ ในขณะที่ผมทำคู่มืออยู่นี้มีโปรแกรม Artisteer เพียง เวอร์ชั่นนี้เท่านั้น ซึ่งเป็นตัว Demo ครับ โหลดมาใช้ได้ไม่ผิดกฏหมาย ถูกใจก็ซื้อได้ครับ)

          จากนั้นโปรแกรมจะเลือกอยู่ที่ภาษา อังกฤษ แล้วจึงกดปุ่ม Next > ไปเรื่อย ๆ จะเจอหน้า License agreement ให้เราทำการ ติ๊กที่ช่อง I accept the terms…………………. แล้วจึงกดปุ่ม Next > ไปเรื่อย ๆ อีกครั้ง จนถึงหน้า Shortcut settings จะเปลี่ยนเป็นคำว่า Install ให้กดปุ่มนั้นเพื่อติดตั้งโปรแกรม

ให้รอสักครู่ระหว่างติดตั้งโปรแกรม

เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Finish ทันที

3.ติดตั้ง Joomla


การติดตั้ง CMS Joomla คือการติดตั้งระบบการทำงานของเว็บไซต์ทั้งหมด เป็นระบบการจัดการบทความซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเขียนCode หรือ โปรแกรมขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
          ก่อนอื่นให้ไปดาวน์โหลดโปรแกรม Joomla รุ่น 1.5.26 ที่ www.joomlacorner.com ก่อน หรือว่าจะ ดาวน์โหลดที่ ลิงค์ต่อไปนี้ก็ได้ Joomla_1.5.26-Stable-Full_Package ครับ
          เมื่อได้ไฟล์มาแล้วก็ให้แตกไฟล์ชื่อ Joomla_1.5.26-Stable-Full_Package.zip ไปที่ ตำแหน่งC:\AppServ\www แล้วสร้างเป็นชื่อของระบบที่เราจะเลือก ตัวอย่างดังรูป ชื่อว่า “tjoomla” แล้วกดปุ่ม OK
รอจนการแตกไฟล์เสร็จสมบูรณ์

         จากนั้นให้เปิด Browser แล้วเรียน URL ดังนี้ localhost/“ชื่อที่สร้าง แล้วกด Enter

          จากนั้น URL จะเพิ่มข้อความขึ้นมา จากนั้นจะมีหน้าต่างการติดตั้งปรากฏขึ้น

หน้านี้จะเป็นการเลือกภาษาสำหรับติดตั้ง ให้เลื่อนลงมาหาข้อความว่า th-TH – Thai(ภาษาไทย) ดังภาพแล้วจึงกดปุ่ม Nextที่ด้านบน

จากนั้นขั้นตอนที่ 2 และ 3 ให้กดปุ่ม Next ข้ามผ่านได้ ที่มุมซ้ายมือจะมีเมนูขั้นตอนคอยบอกลำดับการติดตั้งด้วย ซึ่งในขั้นตอนที่ 4 นี้เราจะต้องกรอกค่าสำหรับเชื่อมต่อระหว่าง Joomla กับ ฐานข้อมูล MySQL ให้กรอกข้อมูลให้ตรงกับที่เราสร้างขึ้น ที่ช่องชื่อโฮสต์ใส่เป็น localhost ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูลและรหัสผ่านใส่เป็น root ทั้ง 2 บรรทัด ส่วนช่อง ชื่อฐานข้อมูลให้ใส่ชื่อฐานข้อมูลที่เราสร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 2 แล้วจึงกดปุ่ม ถัดไป
      ในขั้นตอนที่ 5 ให้กด ถัดไป เผื่อผ่านขั้นตอนการติดตั้งนี้ และจะมาหยุดที่ ขั้นตอนที่ 6 การตั้งค่าระบบ
จากนั้นจะมีกล่องข้อความยืนยันขั้นตอนการติดตั้งขึ้นมาให้กดปุ่ม OK เพื่อติดตั้ง
เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วระบบจะแจ้งเตือนให้เราไปลบ Folder ที่ชื่อว่า Installation ตามภาพออก ซึ่งให้เรากระทำตามที่รูปภาพบอก จึงจะสามารถเข้าสู่เว็บไซต์ Joomla ที่เราได้สร้างขึ้นได้
ให้ไปที่ C:\AppServ\www\“ชื่อที่สร้าง” แล้วทำการลบ Folder installation ทิ้งซะ จะเป็นการติดตั้งโดยสมบูรณ์
เมื่อลบ Folder ออกไปแล้วให้ลองเรียนชื่อ URL ของ Joomla ที่เราได้ติดตั้งไปดู ในตัวอย่างจะเรียกว่า “tjoomla” และจะใช้เป็นตัวอย่างสำหรับการทำเว็บไซต์ในคู่มือนี้ด้วย

2.สร้างฐานข้อมูลสำหรับ Joomla


ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญส่วนหนึ่งของการติดตั้งระบบ CMS Joomla ทีเดียวเพราะว่าในส่วนนี้เป็นส่วนของฐานข้อมูลซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่านของผู้ใช้, บทความ, รูปภาพ เป็นต้น ดังนั้นถ้า Joomla ที่ไม่มีฐานข้อมูลก็ไม่สามารถเป็น Joomla ได้เพราะไม่มีการเก็บข้อมูลไว้ นั่นเอง
          ก่อนอื่นให้พิมพ์ที่ช่อง URL ของ Browser แต่ละประเภท(ช่องกรอกชื่อเว็บไซต์)ว่า localhost/phpMyAdmin (ต้องพิมพ์ถูกต้องตามตัวอย่างทุกตัวอักษร)

ถ้าพิมพ์ถูกต้องจะปรากฏกล่องล็อกอินถามหา Username , Password ให้ root ทั้ง 2 ช่อง แล้วจึงกด OK
หลังจากที่ล็อคอินสำเร็จ จะมายังหน้าควบคุมของ localhost ที่เราได้ติดตั้งไว้
จากนั้นที่ช่อง Create new database จะมีช่องให้กรอกข้อความอยู่ ซึ่งเป็นช่องสำหรับสร้างชื่อฐานข้อมูล ให้ทำการสร้างชื่อฐานข้อมูลที่เราต้องการตั้งชื่อไว้เพื่อทำการเชื่อมต่อกับ Joomla และที่ช่อง Collation ให้เลือกว่า utf8_general_ci ดังภาพ แล้วจึงกดปุ่ม Create
เมื่อสร้างข้อมูลสำเร็จจะปรากฏดังภาพ
เพียงเท่านี้เราก็มีฐานข้อมูลพร้อมที่จะใช้สำหรับ CMS Joomla แล้วละ